เทคนิคการเลี้ยงปลาช่อน ในบ่อซีเมนต์

เทคนิคการเลี้ยงปลาช่อน ในบ่อซีเมนต์

ปลาช่อน เป็นปลาน้ำจืดที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจ อีกชนิดหนึ่ง ของประเทศไทย พบอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำจืด ทั่วไป ในประเทศไทย เป็นปลาที่มีรสชาติดี มีก้างน้อย สามารถนำมาประกอบอาหาร ได้หลากหลายชนิด โดยธรรมชาติแล้วปลาช่อน เป็นปลาประเภทกินเนื้อ กินสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในน้ำ รวมทั้งปลาเล็กปลาน้อย และแมลงต่าง ๆในน้ำเป็นอาหาร เมื่ออาหารขาดแคลนทำให้ปลาช่อนตัวใหญ่หันกลับมากินปลาช่อนตัวเล็ก ซึ่งการเลี้ยงปลาช่อนเรื่องอาหารเป็นเรื่องสำคัญมากเพราะถ้าอาหารขาดแคลนปลาช่อนจะกินกันเอง

นางย้อม แสงสว่าง ณ บ้านเลขที่ 8 หมู่ที่ 2 ต.ป่างิ้ว อ.เมือง จ.อ่างทอง เป็นผู้ริเริ่มเลี้ยงปลาช่อนในบ่อซีเมนต์ เป็นผลสำเร็จน่าภูมิใจอย่างยิ่ง คุณย้อมเล่าว่า มีเวลาว่างก็เลยคิดที่จะทดลอง เลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อซีเมนต์ ซึ่งมีที่อยู่รอบบ้านว่างอยู่ โดยครั้งแรกก็นำปลาหมอไทยมาเลี้ยง ปลาดุก กบมาเลี้ยง ก็ได้ผลแต่ปลาหมอไทย ไม่ได้ผลเนื่องจากการเติบโตช้ามาก จึงข้ามมาทดลองเลี้ยงปลาช่อนดู เห็นว่าราคาดีและยังไม่มีใครทำจึงได้ดำเนินการดังนี้

เตรียมบ่อซีเมนต์

1.บ่อซีเมนต์ควรทำหลายๆบ่อ ก็จะดี เช่น บ่ออนุบาลปลาช่อน ควรมีขนาด 2 x 3 เมตรหรือ 2×2 เมตรก็ได้ ความลึกขนาด 30 ซม. มีหลังคาคลุมป้อง สัตว์ จะมากิน ลูกปลาช่อน ปล่อยลูกปลาขนาด ประมาณ1-2 นิ้ว ได้ 2000-3000 ตัว ควรทำ 2-3 บ่อถ้าต้องเลี้ยงปลาจำนวน 10000 ตัว อนุบาลไว้ 30 วัน

2.บ่อเลี้ยง ควรมีขนาด 5×10 เมตร ลึก 1 เมตร แช่น้ำให้มี ตระใคร่น้ำ จับให้หมดฤทธิ์ของปูน ใส่น้ำขนาดความลึก 30 ซม ใส่ผักตบชวา ผักปลอด จำนวนครึ่งของพื้นที่ บ่อให้ปลาช่อนได้หลบแสง และป้องกันน้ำเสียง่าย บ่อเลี้ยงมีอย่างน้อย 2 ถึง3 บ่อ เพื่อให้คัดขนาดของปลา ที่โตเท่าๆ กันเลี้ยงในบ่อเดียวกัน

การหาลูกปลาช่อนและการอนุบาล

ลูกปลาช่อนหาได้จากลำคลอง ทุ่งนาข้าว หรือ แหล่งน้ำ จะเห็นว่าในช่วงฤดูฝน เดือนพฤษภาคมถึงสิงหาคม ปลาช่อนจะวางไข่ และ จะมีลูกปลาเล็กๆ ตัวขนาด 1-2 นิ้ว เป็นฝูงจะมองเห็น ผุดน้ำระยิบๆ ก็จะนำสวิงตาถี่ เช่นไนลอนเขียวทำเป็นสวิงตักปลา ขนาดกลางเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1เมตร

นำไปช้อนลูกปลาและใส่ภาชนะกระมังใหญ่ๆ หรือใส่ถุงพลาสติกขนาดใหญ่ อัดอ๊อกซิเจนกรณีลำเลียงลูกปลาไกลๆ เมื่อได้ลูกปลา แล้วนำมาแช่น้ำใหม่ ทิ้งไว้ 1วัน ให้ลูกปลาหิวก็จะนำอาหารชนิดผงของปลาดุกเล็กมาปั้นก้อนขนาดเท่าหัวแม่มือ 2-3 ก้อน วางลงในบ่อปลาลูกปลาจะเข้ามากินและชอบกินมาก ในวันต่อๆ มา ควรให้วันละ 2 ครั้งเช้า-เย็น และในสัปดาห์ต่อมาควรฝึกให้ กินจิ้งหรีดตัวเล็กๆ ในสัปดาห์ที่ 3-4 ซึ่งลูกปลาจะโตขนาดเท่านิ้วมือความยาวขนาด 4-5 นิ้ว

การเลี้ยงปลาใหญ่

เมื่อลูกปลาอายุ 1 เดือน จะย้ายปลา ช่อนลงบ่อเลี้ยงขนาด 5×10 เมตร จำนวนบ่อละ 2000-3000 ตัว ช่วงนี้กรณีไม่มีจิ้ง หรีดหรือไม่เพียงพอ ให้ใช้หอยเชอรี่ มาต้มทั้งตัว และแคะเอาแต่เนื้อหอย มาสับให้เป็นชิ้นเล็กๆ นำไปใส่ในบ่อปลาช่อน จะกินจำนวนหอยเมื่อแกะแล้วจำนวนครั้งละ 1 กิโลกรัม แต่จะทำให้น้ำเสียเร็ว ประมาณ 15วัน จะต้องเปลี่ยนถ่ายน้ำ กรเปลี่ยนถ่ายน้ำให้น้ำไหลออกจากรูระบายน้ำ ที่มีขนาดเล็กกว่าตัวปลา ปล่อยน้ำให้หมดบ่อเลยแล้วเอาน้ำใหม่ใส่ ข้อดีคือ ทำให้เราเห็นสภาพของปลาได้ชัดเจนว่า ปลาเจ็บป่วยหรือไม่ และปริมาณการเติบโต จะเห็นได้ชัด พร้อมทั้งคัดขนาดของปลาได้

อาหารเลี้ยงปลาช่อน

จำเป็นจะต้องลดต้นทุนให้มากที่สุด ให้ได้กำไรมากที่สุด ช่วงระยะของการเลี้ยงปลาช่อน ต้องการปลาช่อนขนาดเล็ก 4 ตัวต่อกิโลกรัม จะใช้เวลาประมาณ 6 เดือน ต้องการปลาช่อนขนาด 2-3ตัวต่อกิโลกรัม จะใช้เวลาประมาณ 8-9 เดือน ในกรณีที่ใช้อาหารปลาดุกร่วมกับจิ้งหรีด ระยะเวลาจะเร็วกว่านี้ ประมาณ 1 เดือนการให้อาหารปลาช่อนให้เช้า-เย็น กรณีถ้าเราเลี้ยงจิ้งหรีดได้สัปดาห์ละ 5 หมื่นตัวต่อสัปดาห์ จะเพียงพอสำหรับการเลี้ยงปลาดุก 1 บ่อ 2000-3000ตัว

เมนูนำทาง